บริการสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงและวิจัย (Reference Services)

เกี่ยวกับบริการ: 

เป็นบริการค้นหาสารสนเทศที่มีในห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ให้ผู้ใช้ได้รับความรู้ข่าวสารและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ที่มุ่งผู้ใช้เป็นศูนย์กลางของบริการ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในด้าน ความถูกต้อง ความรวดเร็ว และสามารถสืบค้นได้อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้ค้นหาสารนิเทศ ที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้หลายช่องทาง ได้แก่ ติดต่อด้วยตนเอง หรือผ่านทางโทรศัพท์ หรือผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุด

สิทธิ์การใช้บริการ:

นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้สนใจทั่วไป

ช่องทางการขอใช้บริการ:

  1.  ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อด้วยตนเอง ณ โต๊ะบริการช่วยค้นคว้าและวิจัย ชั้น 2 อาคารศูนย์สารสนเทศ โทรศัพท์ 093-5922556 หรือ เบอร์โทรภายใน 42630
  2. ติดต่อผ่าน Live Chat หรือเว็บไซต์สำนักหอสมุด https://library.kku.ac.th
  3. ติดต่อผ่านทาง e-mail: library.inbox@kku.ac.th

ขอบเขตการให้บริการ

  1. การบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (Reference Service) ได้แก่
    1.1 ตอบคำถามผู้ใช้บริการ เป็นการช่วยค้นหาสารสนเทศ (Information) ที่ผู้ใช้บริการต้องการจากสิ่งพิมพ์โสตทัศนวัสดุที่มีให้บริการในหอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะต่าง ๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น

    1.2 การตอบคำถามทางโทรศัพท์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้โทรศัพท์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ติดต่อเพื่อสอบถามคำถามหรือข้อมูลอื่นๆ จากบรรณารักษ์โดยไม่ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง

    1.3 การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เป็นบริการช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดและฐานข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ ฐานข้อมูลของห้องสมุด (WebOPAC) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

    1.4 ช่วยเหลือและค้นหาตัวเล่มเอกสารต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการในกรณีที่หาไม่พบเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาตัวเล่มเอกสารที่ไม่พบบนชั้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกรอกแบบคำร้องแจ้งการหาหนังสือไม่พบได้ที่ ชั้นหนังสือประจำชั้นต่างๆ หรือเคาน์เตอร์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า จากนั้นบรรณารักษ์จะรับแบบคำร้องแจ้งหาหนังสือไม่พบ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ ติดตามผล และนัดหมายวันรับเอกสารหรือแจ้งผลการค้นหาให้ทราบต่อไป โดยจะแจ้งผล 2 ครั้ง ภายใน 3 วันทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ของผู้ใช้เป็นหลัก

    1.5 รวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง เป็นบริการสำหรับอาจารย์ ข้าราชการ นักวิจัย สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการรายชื่อสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ประกอบการสอนและการทำวิจัย ตลอดจนประเด็นที่น่าสนใจในขณะนั้น บรรณารักษ์จะรวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์ในเรื่องนั้นๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสามารถติดตามฉบับพิมพ์ได้ เช่น บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรณานุกรมกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่มีอยู่ในหอสมุดกลาง เป็นต้น
  2. แนะนำการใช้ห้องสมุดและการใช้เครื่องมือช่วยสืบค้นสารสนเทศ เป็นการแนะนำผู้ใช้ที่ยังไม่เคยใช้หรือรู้จักห้องสมุดมาก่อนให้รู้จักการใช้ห้องสมุด วิธีสืบค้นและการใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด (WebOPAC) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าและใช้เครื่องมือช่วยค้นของห้องสมุดได้ด้วยตน เอง และหากเกิดข้อสงสัยในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการที่จัดให้บริการใน ครั้งต่อไป อาจมาขอคำปรึกษาจากบรรณารักษ์ได้อีกครั้งหนึ่ง
  3. แนะนำการทำผลงานทางวิชาการ การเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง เป็นการแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ เช่น รายงาน ตำราวิชาการ บทความ วิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นต้น นับตั้งแต่การค้นคว้าเอกสาร ตำรา การลงรายการเชิงอรรถ การเขียนเอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม วิธีการจัดทำรูปเล่มให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ตลอดจนให้คำแนะนำศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือคู่มือการทำรายงานหรือทำวิทยา นิพนธ์ที่มีอยู่ในห้องสมุดประกอบอีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยเหลือผู้ใช้ให้รู้จักวิธีรวบรวมบรรณานุกรม เพื่อประกอบการทำผลงานทางวิชาการตามเนื้อหาหรือหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ และอธิบายถึงวิธีการลงรายการบรรณานุกรมอย่างถูกต้อง ตลอดจนชี้แหล่งวารสารในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการด้วย
  4. แนะนำหรือชี้แนะแหล่งสารสนเทศ เป็นการช่วยผู้ใช้ในลักษณะชี้แนะโดยเชื่อมโยงผู้ใช้ที่ต้องการสารสนเทศกับแหล่งสารสนเทศภายนอกที่ให้บริการได้ตรงตามความต้องการ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต สถาบัน องค์การ และบุคคล
  5. บริการสืบค้นการอ้างถึงผลงานทางวิชาการ (Cited Reference) เป็นการช่วยสืบคนการอ้างถึงผลงานทางวิชาการ (Cited Reference) แต่ละท่านของอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักวิทยบริการให้บริการ
  6. บริการยืมทรัพยากรกรณีพิเศษ เป็นบริการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความจำเป็นต้องใช้หนังสือที่ห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมออกได้ เช่น หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ฉบับห้ามยืมออกเป็นต้นโดยบรรณารักษ์ต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมออก การพิจารณาให้ถือตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการให้ยืมกรณีพิเศษ
  7. การรับเรื่องบริการยืมระหว่างห้องสมุด ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าในการเป็นสื่อกลางในการประสานงานรับคำร้องขอยืมระหว่างห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อของผู้ใช้ และทำให้การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  8. บริการพบปะนักวิจัย (Site Visit) เป็นการออกไปพบนักวิจัยตามศูนย์วิจัยต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการทำวิจัยและ จัดเตรียมบริการ ทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือวิจัย และให้คำปรึกษาที่ช่วยสนับสนุนการทำวิจัยให้กับนักวิจัย
  9. คลินิกสารสนเทศเพื่อการเรียน การสอนและการวิจัย (Clinical Research Consultant) เป็นบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการแสวงหาและการเข้าถึง และการใช้สารสนเทศ  โดยบรรณารักษ์และผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาในเฉพาะด้านในสาขาวิชาต่างๆ รวมไปถึงการจัดอบรมแบบกลุ่มย่อย และกลุ่มเฉพาะ ในหลักสูตรต่างๆ รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ร่วมกับสาขาวิชา หรือคณะต่างๆ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้กับผู้ใช้บริการ