อยากใช้งาน Ai เก่งๆ ต้องขยันคุยกับ Ai

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียนรู้ Ai และใช้ Ai ทำงานด้านการจัดทำแผนพัฒนาทักษะ Ai สำหรับบุคลากร

ในยุคนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก Ai โดยเฉพาะ Generative Ai สายบรรณารักษ สายห้องสมุดนี่ไปอบรมกันบ่อยๆ อบรมกันมากๆ ไม่ไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เราล้าหลัง แต่ไปอบรมแล้วเรานำมาความรู้มาพัฒนาตนเองหรือพัฒนางานอย่างๆไร

พี่ตุ่นนำมาใช้ดังนี้ค่ะ
1. รู้เรื่อง Ai เพิ่มมากขึ้น เช่น รู้ชื่อ รู้ถึงความสามารถ รู้จักแหล่งบริการ (มีทั้งฟรี และจ่ายค่าบริการ)
2. ใช้ Ai มาเป็นผู้ช่วยทำงาน (ถ้ารู้จักเฉยๆ เป็นแค่ความรู้ แต่ถ้าทดลองใช้ จะทำให้เกิดทักษะในการใช้งาน)

วิทยากรท่านนึงแนะนำให้ลองใช้ Ai ช่วยงานในหน้าที่ เป็นงานที่เรามีความรู้ แต่อาจจะขาดไอเดียใหม่ๆ โดยการเขียนพรอม…ซึ่งพรอมก็คือ ชุดคำสั่งที่ให้ข้อมูลสำหรับ Ai พรอมยิ่งละเอียดมากผลลัพธ์ก็จะดีมากๆ เพราะ Ai จะได้ทำงานได้สอดคล้องกับขอบเขต ความต้องการ
ในการทดลองใช้งานจึงได้ให้ Ai มาช่วยในการพัฒนาบุคลากรทางด้าน Ai โดยเขียนพรอมว่า “ขอให้ออกแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้มีทักษะทางด้านการใช้งาน Ai โดยแบ่งเป็นแผนการดำเนินงานระยะสั้น (1 ปี) และระยะยาว (4 ปี) พร้อม Key Results” ซึ่ง Ai น่ารักมา ช่วยสร้างไอเดีย ดังนี้

Objective 1: พัฒนาห้องสมุดสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ**
**Key Results:**
1.1 ภายในปีแรก ห้องสมุดมีระบบ AI ช่วยในการแนะนำหนังสือและตอบคำถามพื้นฐาน
1.2 ภายในปีที่ 2 ระบบ AI ถูกนำมาใช้ในกระบวนการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้
1.3 ภายในปีที่ 3 ห้องสมุดสามารถลดภาระงานที่เป็นงานซ้ำซ้อนลงอย่างน้อย 30% ผ่านการใช้ AI

Objective 2: พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถทำงานร่วมกับ AI และเทคโนโลยีดิจิทัล**
**Key Results:**
2.1 ภายในปีแรก บุคลากรทุกคนผ่านการอบรมพื้นฐานเกี่ยวกับ AI และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
2.2 ภายในปีที่ 2 บุคลากรอย่างน้อย 70% สามารถใช้ AI ช่วยในงานประจำวันได้
2.3 ภายในปีที่ 3 มีหลักสูตรอบรมต่อเนื่องเกี่ยวกับ AI และดิจิทัลสำหรับบุคลากร

Objective 3: สร้างมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้ AI ในห้องสมุด**
**Key Results:**
3.1 ภายในปีแรก จัดทำแนวทางการใช้ AI และจรรยาบรรณในการใช้ AI สำหรับบุคลากรและผู้ใช้บริการ
3.2 ภายในปีที่ 2 มีการประเมินผลกระทบของ AI ต่อการให้บริการ และปรับปรุงแนวปฏิบัติให้เหมาะสม
3.3 ภายในปีที่ 3 ห้องสมุดได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกว่าเป็นต้นแบบการใช้ AI ในห้องสมุด

Objective 4: เสริมสร้างบทบาทของห้องสมุดในฐานะแหล่งเรียนรู้และศูนย์กลางความรู้ด้าน AI**
**Key Results:**
4.1 ภายในปีแรก จัดตั้งแหล่งข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับ AI และการใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย
4.2 ภายในปีที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมและสัมมนาด้าน AI อย่างน้อย 5 ครั้งต่อปี
4.3 ภายในปีที่ 3 ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ AI สำหรับนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย

Objective 5: ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีห้องสมุด**
**Key Results:**
5.1 ภายในปีแรก ห้องสมุดเริ่มต้นความร่วมมือกับองค์กรด้านเทคโนโลยีอย่างน้อย 1 แห่ง
5.2 ภายในปีที่ 2 ห้องสมุดร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือองค์กรวิจัยอย่างน้อย 3 แห่ง
5.3 ภายในปีที่ 3 ห้องสมุดเป็นต้นแบบในการใช้ AI และได้รับเชิญให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับประเทศ
**สรุป**
OKR เหล่านี้ช่วยให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นพัฒนาไปสู่ **”Smart Library ที่ใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ”** โดยเน้นทั้งการพัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และความร่วมมือกับองค์กรภายนอก

กิจกรรมต่อมา เราสามารถนำ Idea ที่ Ai ทำให้ไปหาแหล่งอ้างอิงว่าที่ไหนทำบ้่ง หรือนำแต่ละหัวข้อมาให้ Ai ทำรายละเอียดเพิ่มเติมให้ โดยเพิ่มเงื่อนไขหรือข้อมูลของหน่วยงานของเราเข้าไป เพ่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง

Ai เก่ง : คนเก่งในการใช้ Ai
การใช้งาน Ai ให้เป็นผู้ช่วยในการทำงาน จึงควรคุยกับหรือให้ Ai ทำการบ้านช่วยทุกวัน หรือบ่อยๆ ว่างมาก ก็ลองตั้งพรอมให้ Ai นำพรอมเดียวกันไปค้นหลายๆ กับ Ai เพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้ และเปรียบเทียบได้ว่า Ai ยี่ห้อใดเก่งอะไร มีข้อจำกัดอะไร และควรเปิดใจใช้ Ai หลายๆตัว แทนการผูกติดกับ Ai ตัวใดตัวหนึ่ง

ตอนนี้ มข. ได้จัดบริการ KKU AI Sphere ให้แก่ สมาชิก ใช้บริการได้โดยเข้าผ่าน KKU Account
https://ai.kku.ac.th/ให้บริการ Ai 10 ยี่ห้อ (ณ เมษายน 2568)

แม้ว่าเราอาจจะไมใช่เจ้าหน้าที่หลักที่รับผิดชอบด้าน Ai โดยตรง แต่น่าจะลองเข้าไปใช้งานดูนะคะ มันมีความน่าทึ่ง เดี๋ยวจะพูดกับคนอื่นเค้าไม่รู้เรื่อง ถึงแม้ว่า Ai จะช่วยทำงานได้ แต่ ผุูใช้งานต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบความถูกต้องข้อของมูลก่อนนำไปใช้งาน

วันนี้คุณสวัสดี Ai แล้วหรอยัง