สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เทคนิคการเขียนงานเชิงวิเคราะห์จากงานประจำอย่างมืออาชีพ : เรื่องที่บุคลากรสายสนับสนุนต้องรู้

พี่ตุ่นมีโอกาสเข้ารับการอบรมเรื่อง  “เทคนิคการเขียนงานเชิงวิเคราะห์จากงานประจำอย่างมืออาชีพ” ซึ่งเป็นหลักสูตรหนึ่งในโครงการส่งเสริมบุคลากร ประเภทสายสนับสนุน กองทุน 40 ปี พัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2568  ซึ่งจัดโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยขอนแก่นอจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 โดยมี ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นวิทยากร

พี่ตุ่นคิดว่าในเส้นทางการทำงานของสายสนับสนุนจำเป็นต้องจัดทำงานเชิงวิเคราะห์ เนื่องจาก

    1. 1) เป็นงานวิชาการในการขอผลงานเพื่อการเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด

    1. 2)  เป็นการศึกษาข้อมูลหลักที่ตนเองรับผิดชอบ นำไปสู่การพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นสายสนับสนุนจึงต้องควรศึกษาแนวทางการจัดทำผลงานเชิงวิเคราะห์ให้ดี เพราะในการทำผลงานวิชาการ  ผลงานเชิงวิเคราะห์มีความคล้ายคลึงด้านกระบวนกับงานวิจัย และงานเชิงสังเคราะห์ แต่มีรายละเอียดบางส่วนที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการอบรมและบันทึกความรู้จากห้องอบรมมาแบ่งปันต่อ

การวิเคราะห์ คือ แยกสิ่งที่เกิดขึ้นมาในสถานการณ์อดีตออกเป็นส่วนๆ และหาความสัมพันธ์ ของข้อเท็จจริง  ทำให้เห็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต  ทำให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนา และรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  ผลที่ได้ คือ แนวทางในการปฏิบัติ

ความแตกต่างของงานวิเคราะห์ กับงานวิจัย คือ ประชากรในการศึกษา 

          งานวิเคราะห์  ประชากรในการศึกษา  คือ ข้อมูลที่มี เอกสาร กระบวนการ ต้นทุน วิเคราะห์ปัญหา เป็นการถอดบทเรียนจากงานที่รับผิดชอบ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ

          งานวิจัย ประชากรในการศึกษา  คือ บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สัตว์ พืช ศึกษาปัจจัย-ความสัมพันธ์ ผลที่ได้รับ คือประสิทธิภาพของผลการดำเนินงาน

งานสังเคราะห์ คือ การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ภายใต้ความชำนาญเชี่ยวชาญใหม่ ออกมาเป็นสิ่งใหม่   นิยมทำในการทำงานด้านบริหาร  เช่น การสังเคราะห์การรวมศูนย์การบริการแบบ One Stop Service ผลที่ได้ คือ แนวทางใหม่ นโยบายใหม่ ระบบใหม่

กระบวนการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการสังเคราะห์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และเป็นสิ่งที่ดี หลายๆคน จึงนิยมทำวิจัย แทนการสังเคราะห์

ปัจจัยในการทำงานเชิงวิเคราะห์

    1. 1) มีข้อมูลเพียงพอ เช่น มีข้อมูลจากการปฏิบัติงาน 3 ปี ย้อนหลัง

    1. 2) เลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง

    1. 3) กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน เพื่อการนำเสนอผลตามวัตถุประสงค์นั้น

ช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการในกรอบการใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่ง

          ส่งช่องทางงานวิเคราะห์ ให้ทำฉบับสมบูรณ์ 5 บท

          ส่งช่องทางของงานวิจัย  ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ (เทคนิคปรับชื่อเรื่อง โดยเน้นวัตถุประสงค์ข้อที่…เป็นแนวทาง

ภาพประกอบจาก ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (2568)

ปัจจัยในการเลือกงานที่รับผิดชอบมาจัดทำเป็นงานเชิงวิเคราะห์

    1. 1) งานประจำในความรับผิดชอบ  ต้องการพัฒนา หรือหาแนวทางแก้ปัญหาในงานอย่างไรเพื่อเป็นนวัตกรรมการให้บริการ

    1. 2) มีความเป็นปัจจุบัน

    1. 3) เป็นความชำนาญเชี่ยวชาญของผู้จัดทำ สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งงาน

    1. 4) มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ เช่น การเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี

ภาพประกอบจาก ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (2568)

การประเมินผลนวัตกรรมบริการ  หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ (ใช้วัดผลการวิเคราะห์)

    1. 1) ประเมินประสิทธิภาพ ดีกว่าเดิมอย่างไร วัดอย่างไร (ต้องมี KPI กำกับ) วัดความถูกต้องยาก วัดความผิดพลาดน้อย  KPI  ด้านประสิทธิภาพ เช่น จำนวนความผิดพลาด จำนวนเวลาที่ลดลง 2) จำนวนขั้นตอนที่ลดลง จำนวนทรัพยากรที่ใช้ลดลง

    1. 2) การวัดเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบข้อจำกัดของแบบเดิม -แบบใหม่ (แสดงให้เห็นถึงความสะดวก หรือสิ่งที่ดีขึ้น)

    1. 3) ประเมินความพึงพอใจ

               โดยวิธีตรวจสอบความสอดคล้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์

    • ดูว่าความเป็นมา/วัตถุประสงค์ (บ่นอะไรไว้) สอดล้องกับ ผลที่ได้ (ทำให้การบ่นลดลงไหม)

    • เปรียบเทียบกับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับหน่วยงานที่มีลักษณะที่คล้ายกัน หรือเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของต่างประเทศ

บทบาทของหัวหน้างานและผู้บริหารต่อการพัฒนางานเชิงวิเคราะห์

       คือ ต้องทำให้บุคลากรมีหลักฐานในการนำงานวิชาการไปใช้ปนะกอบการขอเลื่อนระดับ โดยการ

    1. ควรหาเวทีนำเสนอให้บุคลากร

    1. นำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้มีมติในการรับรองในการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำเสนอผลการวิเคราะห์ในที่ประชุมคณะและให้มีบันทึกรายลักษณํอักษรที่ลงนามรับรองการนำผลวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์

เทคนิคการเขียนเนื้อหาของงานเชิงวิเคราะห์

    • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพการนำเสนอข้อมูล เช่น

    • การวางกลยุทธ์

    • การแก้ไขปัญหาการ เช่น ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    • แนวทางการดำเนินงาน

    • แนวโน้ม

    • ข้อเสนอแนะต่อผลของการวิเคราะห์
      • ดีอยู่แล้ว                        ต้องนำเสนอการต่อยอด
      • ค่อนข้างดี มีข้อด้อย           ต้องนำเสนอการแก้ไข ปรับเปลี่ยน

        • แย่       ปรับเปลี่ยน          ต้องนำเสนอการ ยกเลิก ปรับปรุง

    • เทคนิควิเคราะห์กระบวนการ
      • 1) ใช้ Lean ปรับปรุงสิ่งที่ไม่จำเป็น  สิ่งที่บ่งบอกว่ากระบวนการมีปัญหา คือ บุคลากรบ่นว่างานเยอะ ไม่มีเวลา ผลลัพธ์ไม่ทันเวลา  ผลลัพธ์ผิดพลาด 
      • เครื่องมือ คือ Flowchart, Line Process, VSM, ECREit
      • 2) ใช้เทคนิควิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ศึกษาเอกสาร สภาพปัจจุบัน บุคลากรที่มาให้ข้อมูลการทำงานในอดีต     เครื่องมือ คือ WhyWhy ผังก้างปลา, การระดมสมอง
      •  

ความสอดคล้องของชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กระบวนการวิเคราะห์ และผลลัพธ์

          วัตถุประสงค์แต่ละข้อจะต้องมีแนวทางการดำเนินงานในแต่ละข้อ

          และมีผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์แต่ละข้อ

การตั้งวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ วิธีการ
เพื่อวิเคราะห์ ศึกษาข้อมูลเพื่อทราบปัญหา จุดเด่น จุดด้อย
เพื่อศึกษา/เพื่อจัดทำ-เสนอแนวทาง ระดมสมองเพื่อหาแนวทาง
เพื่อศึกษาแนวโน้ม…ในอนาคต แสดงการพยากรณ์

การตั้งชื่อเรื่อง

สามารถนำวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มาตั้งชื่อเรื่องได้เลย หรือเอาทุกข้อมาผสมกัน 

ในงานวิเคราะห์ ข้อควรระวังในการใช้คำว่า “แนวโน้ม” ในชื่อเรื่อง เพราะ แนวโน้มเป็นเรื่องของอนาคต สามารถระบุรายละเอียดด้านล่างในชื่อเรื่องได้ เพราะงานวิเคราะห์ใช้ประชากรที่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นมาแล้ว

    1. ในชื่อเรื่อง สามารถระบุขอบเขตของปีในการศึกษาวิเคราะห์ ระบุกลุ่มเป้าหมาย  ระบุชื่อหน่วยงาน ในชื่อเรื่องได้

กรอบการวิคราะห์ เมื่อได้ชื่อเรื่องและวัตถุปะสงค์นำมาจัดทำกรอบการวิคราะห์

          ใคร(กลุ่มเป้าหมาย)             ทำอะไร (กระบวนการวิเคราะห์ , การได้มาซึ่งการวิเคราะห์,  เครื่องมือรวบรวมข้อมูล , เก็บข้อมูลอะไรบ้าง)           ได้อะไร (ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์)

พี่ตุ่นก็ทดลองตั้งชื่องานวิเคราะห์และงานวิจัยดู ดังตารางด้านล่าง ซึ่งทำให้พี่ตุ่นเข้าใจงานวิเคราะห์และงานวิจัยมากยิ่งขึ้น จะได้นำความรู้ไปแนะนำน้องๆ ในการจัดทำผลงานได้อย่างถูกต้องต่อไป

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการตั้งชื่องานวิเคราะห์และงานวิจัย

ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิเคราะห์ ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิจัย
งานด้านบริการ
การวิเคราะห์รูปแบบการใช้บริการยืมคืนอัตโนมัติตามช่วงเวลาและกลุ่มผู้ใช้: จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบยืมคืนอัตโนมัติในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การวิเคราะห์พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาจากการยืมคืนในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การศึกษาพฤติกรรมการอ่านหนังสือนักศึกษาจากการยืมคืนในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
การใช้บริการยืมคืนก่อนและหลังช่วงสอบ การเปรียบเทียบพฤติกรรมการยืมหนังสือก่อนและหลังช่วงสอบของนักศึกษาคณะ……
การวิเคราะห์การยืมหนังสือของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การศึกษาพฤติกรรมการยืมหนังสือของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ผลกระทบของการติดตั้งเครื่องยืมคืนอัตโนมัติต่อจำนวนการใช้บริการยืมคืนในห้องสมุด ผลของการใช้บริการยืมคืนอัตโนมัติในห้องสมุด
การเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุด (จากระบบบันทึกการเข้าใช้หรือกล้อง/ระบบนับคน)  การศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุด
รูปแบบการเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุดในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาคตามปฏิทินการศึกษา แนวทางการจัดบริการพื้นที่ในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาคจากการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้บริการ
แนวโน้มการใช้บริการห้องประชุมกลุ่มย่อยของห้องสมุด…. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องประชุมกลุ่มย่อยของห้องสมุด….
การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด แนวทางการจัดบริการกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุด
รูปแบบของการศึกษาดูงานเยี่ยมชมของบุคคลและหน่วยงานภายนอก ความต้องการในการขอศึกษาดูงานเยี่ยมชมของบุคคลและหน่วยงานภายนอก หรือ การปรับปรุง
รูปแบบการใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดบอกรับ สภาพและความพึงพอใจต่อการใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดบอกรับ
 งานด้านเทคนิค
จำนวนทรัพยากรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรประจำคณะ….. ความคิดเห็นต่อความเพียงพอของทรัพยากรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรประจำคณะ…
การวางแผนและจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาประจำปีงบประมาณ 2568 ผลของการจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาประจำปีงบประมาณ 2568
งานด้านอำนวยการ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
การวิเคราะห์อัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากร สภาพปัจจุบันและความคิดเห็นต่ออัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อความพร้อมในการทำงานในศตวรรษี่ 21
ภาวะสุขภาพของบุคลากรจากการขอใช้สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล ความพึงพอใจของบุคลากรห้องสมุดในการขอใช้สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล
รูปแบบการขอใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยผ่านระบบคำขอใช้ออนไลน์ สภาพการใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยผ่านระบบออนไลน์
ค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าในการเปิดบริการห้องสมุด สภาพการใช้พลังงานไฟฟ้ากับการใช้ห้องสมุด
การวิเคราะห์ผลการอบรมเรื่อง….. ประสิทธิภาพของการอบรมเรื่อง…… หรือ ความพึงพอใจต่อการอบรมเรื่อง……
การวิเคราะห์ความสำเร็จ Edpex300 ขององค์กร การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามเกณฑ์ EdPEx 300 ขององค์กร
การวิเคราะห์ข้อร้องเรียนด้านอาคารสถานที่ของห้องสมุด สภาพปัญหาและการปรับปรุงด้านอาคารและสถานที่ของห้องสมุด
การวิเคราะห์สมรรถนะบุคลากรด้านทักษะ AI สภาพและความคาดหวังต่อสมรรถนะบุคลากรด้านทักษะ AI
ผลการดำเนินงานของโปรแกรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)   การปรับปรุงโปรแกรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) 

ลืมเล่าอีกอย่างค่ะ ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรม วิทยากรกำหนดให้ผู้สมัคร จัดทำ One Sheet Proposal ดังภาพด้านล่าง ซึ่งพี่ตุ่นว่าเป็นประโยชน์มาก ก่อนที่น้องๆ หรือแม้แต่หัวหน้างานจะมอบหมายงานวิเคราะห์ให้น้องๆ ทำ ลองลงมือออกแบบในแบบฟอร์มกระดาษ 1 แผ่นดูค่ะ ซึ่งจะเป็นความสอดคล้อง วิธีวิเคราะห์ และแผนงาน ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ (งานที่นำมาเขียน ต้องขอบคุณ รองเอ นางสาวสุทธิลักษณ์ พัดเพ็ง ที่มอบหมายให้ทำงานนี้ในงานประจำ ทำให้มีไอเดียและมองเห็นข้อมูลที่จะนำข้อมูล (Data) มาจัดทำเป็นงานเชิงวิเคราะห์) มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ตัวอย่างแบบฟอร์มจาก ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (2568)

เป็นบันทึกความรู้ที่ยาวมาก

เหนื่อยหล้ะ…ขอจบก่อน

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่แวะมาอ่านไม่มากก็น้อย

พี่ตุ่นมีโอกาสเข้ารับการอบรมเรื่อง  “เทคนิคการเขียนงานเชิงวิเคราะห์จากงานประจำอย่างมืออาชีพ” ซึ่งเป็นหลักสูตรหนึ่งในโครงการส่งเสริมบุคลากร ประเภทสายสนับสนุน กองทุน 40 ปี พัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2568  ซึ่งจัดโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยขอนแก่นอจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 โดยมี ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นวิทยากร

พี่ตุ่นคิดว่าในเส้นทางการทำงานของสายสนับสนุนจำเป็นต้องจัดทำงานเชิงวิเคราะห์ เนื่องจาก

    1. 1) เป็นงานวิชาการในการขอผลงานเพื่อการเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด

    1. 2)  เป็นการศึกษาข้อมูลหลักที่ตนเองรับผิดชอบ นำไปสู่การพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นสายสนับสนุนจึงต้องควรศึกษาแนวทางการจัดทำผลงานเชิงวิเคราะห์ให้ดี เพราะในการทำผลงานวิชาการ  ผลงานเชิงวิเคราะห์มีความคล้ายคลึงด้านกระบวนกับงานวิจัย และงานเชิงสังเคราะห์ แต่มีรายละเอียดบางส่วนที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการอบรมและบันทึกความรู้จากห้องอบรมมาแบ่งปันต่อ

การวิเคราะห์ คือ แยกสิ่งที่เกิดขึ้นมาในสถานการณ์อดีตออกเป็นส่วนๆ และหาความสัมพันธ์ ของข้อเท็จจริง  ทำให้เห็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต  ทำให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนา และรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  ผลที่ได้ คือ แนวทางในการปฏิบัติ

ความแตกต่างของงานวิเคราะห์ กับงานวิจัย คือ ประชากรในการศึกษา 

          งานวิเคราะห์  ประชากรในการศึกษา  คือ ข้อมูลที่มี เอกสาร กระบวนการ ต้นทุน วิเคราะห์ปัญหา เป็นการถอดบทเรียนจากงานที่รับผิดชอบ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ

          งานวิจัย ประชากรในการศึกษา  คือ บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สัตว์ พืช ศึกษาปัจจัย-ความสัมพันธ์ ผลที่ได้รับ คือประสิทธิภาพของผลการดำเนินงาน

งานสังเคราะห์ คือ การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ภายใต้ความชำนาญเชี่ยวชาญใหม่ ออกมาเป็นสิ่งใหม่   นิยมทำในการทำงานด้านบริหาร  เช่น การสังเคราะห์การรวมศูนย์การบริการแบบ One Stop Service ผลที่ได้ คือ แนวทางใหม่ นโยบายใหม่ ระบบใหม่

กระบวนการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการสังเคราะห์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และเป็นสิ่งที่ดี หลายๆคน จึงนิยมทำวิจัย แทนการสังเคราะห์

ปัจจัยในการทำงานเชิงวิเคราะห์

    1. 1) มีข้อมูลเพียงพอ เช่น มีข้อมูลจากการปฏิบัติงาน 3 ปี ย้อนหลัง

    1. 2) เลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง

    1. 3) กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน เพื่อการนำเสนอผลตามวัตถุประสงค์นั้น

ช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการในกรอบการใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่ง

          ส่งช่องทางงานวิเคราะห์ ให้ทำฉบับสมบูรณ์ 5 บท

          ส่งช่องทางของงานวิจัย  ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ (เทคนิคปรับชื่อเรื่อง โดยเน้นวัตถุประสงค์ข้อที่…เป็นแนวทาง

ภาพประกอบจาก ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (2568)

ปัจจัยในการเลือกงานที่รับผิดชอบมาจัดทำเป็นงานเชิงวิเคราะห์

    1. 1) งานประจำในความรับผิดชอบ  ต้องการพัฒนา หรือหาแนวทางแก้ปัญหาในงานอย่างไรเพื่อเป็นนวัตกรรมการให้บริการ

    1. 2) มีความเป็นปัจจุบัน

    1. 3) เป็นความชำนาญเชี่ยวชาญของผู้จัดทำ สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งงาน

    1. 4) มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ เช่น การเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี

ภาพประกอบจาก ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (2568)

การประเมินผลนวัตกรรมบริการ  หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ (ใช้วัดผลการวิเคราะห์)

    1. 1) ประเมินประสิทธิภาพ ดีกว่าเดิมอย่างไร วัดอย่างไร (ต้องมี KPI กำกับ) วัดความถูกต้องยาก วัดความผิดพลาดน้อย  KPI  ด้านประสิทธิภาพ เช่น จำนวนความผิดพลาด จำนวนเวลาที่ลดลง 2) จำนวนขั้นตอนที่ลดลง จำนวนทรัพยากรที่ใช้ลดลง

    1. 2) การวัดเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบข้อจำกัดของแบบเดิม -แบบใหม่ (แสดงให้เห็นถึงความสะดวก หรือสิ่งที่ดีขึ้น)

    1. 3) ประเมินความพึงพอใจ

               โดยวิธีตรวจสอบความสอดคล้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์

    • ดูว่าความเป็นมา/วัตถุประสงค์ (บ่นอะไรไว้) สอดล้องกับ ผลที่ได้ (ทำให้การบ่นลดลงไหม)

    • เปรียบเทียบกับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับหน่วยงานที่มีลักษณะที่คล้ายกัน หรือเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของต่างประเทศ

บทบาทของหัวหน้างานและผู้บริหารต่อการพัฒนางานเชิงวิเคราะห์

       คือ ต้องทำให้บุคลากรมีหลักฐานในการนำงานวิชาการไปใช้ปนะกอบการขอเลื่อนระดับ โดยการ

    1. ควรหาเวทีนำเสนอให้บุคลากร

    1. นำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้มีมติในการรับรองในการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำเสนอผลการวิเคราะห์ในที่ประชุมคณะและให้มีบันทึกรายลักษณํอักษรที่ลงนามรับรองการนำผลวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์

เทคนิคการเขียนเนื้อหาของงานเชิงวิเคราะห์

    • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพการนำเสนอข้อมูล เช่น

    • การวางกลยุทธ์

    • การแก้ไขปัญหาการ เช่น ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    • แนวทางการดำเนินงาน

    • แนวโน้ม

    • ข้อเสนอแนะต่อผลของการวิเคราะห์
      • ดีอยู่แล้ว                        ต้องนำเสนอการต่อยอด
      • ค่อนข้างดี มีข้อด้อย           ต้องนำเสนอการแก้ไข ปรับเปลี่ยน

        • แย่       ปรับเปลี่ยน          ต้องนำเสนอการ ยกเลิก ปรับปรุง

    • เทคนิควิเคราะห์กระบวนการ
      • 1) ใช้ Lean ปรับปรุงสิ่งที่ไม่จำเป็น  สิ่งที่บ่งบอกว่ากระบวนการมีปัญหา คือ บุคลากรบ่นว่างานเยอะ ไม่มีเวลา ผลลัพธ์ไม่ทันเวลา  ผลลัพธ์ผิดพลาด 
      • เครื่องมือ คือ Flowchart, Line Process, VSM, ECREit
      • 2) ใช้เทคนิควิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ศึกษาเอกสาร สภาพปัจจุบัน บุคลากรที่มาให้ข้อมูลการทำงานในอดีต     เครื่องมือ คือ WhyWhy ผังก้างปลา, การระดมสมอง
      •  

ความสอดคล้องของชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กระบวนการวิเคราะห์ และผลลัพธ์

          วัตถุประสงค์แต่ละข้อจะต้องมีแนวทางการดำเนินงานในแต่ละข้อ

          และมีผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์แต่ละข้อ

การตั้งวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ วิธีการ
เพื่อวิเคราะห์ ศึกษาข้อมูลเพื่อทราบปัญหา จุดเด่น จุดด้อย
เพื่อศึกษา/เพื่อจัดทำ-เสนอแนวทาง ระดมสมองเพื่อหาแนวทาง
เพื่อศึกษาแนวโน้ม…ในอนาคต แสดงการพยากรณ์

การตั้งชื่อเรื่อง

สามารถนำวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มาตั้งชื่อเรื่องได้เลย หรือเอาทุกข้อมาผสมกัน 

ในงานวิเคราะห์ ข้อควรระวังในการใช้คำว่า “แนวโน้ม” ในชื่อเรื่อง เพราะ แนวโน้มเป็นเรื่องของอนาคต สามารถระบุรายละเอียดด้านล่างในชื่อเรื่องได้ เพราะงานวิเคราะห์ใช้ประชากรที่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นมาแล้ว

    1. ในชื่อเรื่อง สามารถระบุขอบเขตของปีในการศึกษาวิเคราะห์ ระบุกลุ่มเป้าหมาย  ระบุชื่อหน่วยงาน ในชื่อเรื่องได้

กรอบการวิคราะห์ เมื่อได้ชื่อเรื่องและวัตถุปะสงค์นำมาจัดทำกรอบการวิคราะห์

          ใคร(กลุ่มเป้าหมาย)             ทำอะไร (กระบวนการวิเคราะห์ , การได้มาซึ่งการวิเคราะห์,  เครื่องมือรวบรวมข้อมูล , เก็บข้อมูลอะไรบ้าง)           ได้อะไร (ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์)

พี่ตุ่นก็ทดลองตั้งชื่องานวิเคราะห์และงานวิจัยดู ดังตารางด้านล่าง ซึ่งทำให้พี่ตุ่นเข้าใจงานวิเคราะห์และงานวิจัยมากยิ่งขึ้น จะได้นำความรู้ไปแนะนำน้องๆ ในการจัดทำผลงานได้อย่างถูกต้องต่อไป

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการตั้งชื่องานวิเคราะห์และงานวิจัย

ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิเคราะห์ ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิจัย
งานด้านบริการ
การวิเคราะห์รูปแบบการใช้บริการยืมคืนอัตโนมัติตามช่วงเวลาและกลุ่มผู้ใช้: จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบยืมคืนอัตโนมัติในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การวิเคราะห์พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาจากการยืมคืนในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การศึกษาพฤติกรรมการอ่านหนังสือนักศึกษาจากการยืมคืนในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
การใช้บริการยืมคืนก่อนและหลังช่วงสอบ การเปรียบเทียบพฤติกรรมการยืมหนังสือก่อนและหลังช่วงสอบของนักศึกษาคณะ……
การวิเคราะห์การยืมหนังสือของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การศึกษาพฤติกรรมการยืมหนังสือของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ผลกระทบของการติดตั้งเครื่องยืมคืนอัตโนมัติต่อจำนวนการใช้บริการยืมคืนในห้องสมุด ผลของการใช้บริการยืมคืนอัตโนมัติในห้องสมุด
การเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุด (จากระบบบันทึกการเข้าใช้หรือกล้อง/ระบบนับคน)  การศึกษาพฤติกรรมการ
รูปแบบการเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุดในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาคตามปฏิทินการศึกษา แนวทางการจัดบริการพื้นที่ในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาค
แนวโน้มการใช้บริการห้องประชุมกลุ่มย่อยของห้องสมุด…. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องประชุมกลุ่มย่อยของห้องสมุด….
แนวโน้มการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด แนวทางการจัดบริการกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุด
รูปแบบของการศึกษาดูงานเยี่ยมชมของบุคคลและหน่วยงานภายนอก ความต้องการในการขอศึกษาดูงานเยี่ยมชมของบุคคลและหน่วยงานภายนอก หรือ การปรับปรุง
รูปแบบการใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดบอกรับ สภาพและความพึงพอใจต่อการใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดบอกรับ
 งานด้านการเทคนิค
จำนวนทรัพยากรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรประจำคณะ….. ความคิดเห็นต่อความเพียงพอของทรัพยากรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรประจำคณะ…
การวางแผนและจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาประจำปีงบประมาณ 2568 ผลของการจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาประจำปีงบประมาณ 2568
งานด้านอำนวยการ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
การวิเคราะห์อัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากร สภาพปัจจุบันและความคิดเห็นต่ออัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อความพร้อมในการทำงานในศตวรรษี่ 21
ภาวะสุขภาพของบุคลากรจากการขอใช้สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล ความพึงพอใจของบุคลากรห้องสมุดในการขอใช้สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล
รูปแบบการขอใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยผ่านระบบคำขอใช้ออนไลน์ สภาพการใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยผ่านระบบออนไลน์
ค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าในการเปิดบริการห้องสมุด สภาพการใช้พลังงานไฟฟ้ากับการใช้ห้องสมุด
การวิเคราะห์ผลการอบรมเรื่อง….. ประสิทธิภาพของการอบรมเรื่อง…… หรือ ความพึงพอใจต่อการอบรมเรื่อง……
การวิเคราะห์ความสำเร็จ Edpex300 ขององค์กร การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามเกณฑ์ EdPEx 300 ขององค์กร
การวิเคราะห์ข้อร้องเรียนด้านอาคารสถานที่ของห้องสมุด สภาพปัญหาและการปรับปรุงด้านอาคารและสถานที่ของห้องสมุด
การวิเคราะห์สมรรถนะบุคลากรด้านทักษะ AI สภาพและความคาดหวังต่อสมรรถนะบุคลากรด้านทักษะ AI
ผลการดำเนินงานของโปรแกรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)   การปรับปรุงโปรแกรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) 

ลืมเล่าอีกอย่างค่ะ ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรม วิทยากรกำหนดให้ผู้สมัคร จัดทำ One Sheet ดังภาพด้านล่าง ซึ่งพี่ตุ่นว่าเป็นประโยชน์มาก ก่อนที่น้องๆ หรือแม้แต่หัวหน้่งานจะมอบหมายงานวิเคราะห์ให้น้องๆ ทำ ลองลงมือออกแบบในแบบฟอร์มกระดาษ 1 แผ่นดูค่ะ ซึ่งจะเป็นความสอดคล้อง วิธีวิเคราะห์ และแผนงาน ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ (งานที่นำมาเขียน ต้องขอบคุณ รองเอ นางสาวสุทธิลักษณ์ พัดเพ็ง ที่มอบหมายให้ทำงานนี้ในงานประจำ ทำให้มีไอเดียและมองเห็นข้อมูลที่จะนำข้อมูล (Data) มาจัดทำเป็นงานเชิงวิเคราะห์) มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ตัวอย่างแบบฟอร์มจาก ดร.จรงศักดิ์ พุมนวน (2568)

เป็นบันทึกความรู้ที่ยาวมาก

เหนื่อยหล้ะ…ขอจบก่อน

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่แวะมาอ่านไม่มากก็น้