ผู้เขียน ได้มีโอกาสรับฟังการนำเสนอผลงานเรื่อง การประเมินประสิทธิภาพของ Prompt ที่ใช้กับ Generative AI ในการตรวจแก้บทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดย คุณพิมพ์พาขวัญ ธนนพฤทธิ์ และคุณชนินร์พร สุโชควีระวงศ์ ซึ่งเป็นบริการยอดนิยมในหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเป็นผู้ตรวจแก้บทคัดย่อ แต่บางช่วงอาจล่าช้าเมื่อมีคำขอจำนวนมาก การนำเครื่องมือ Generative AI โดยเฉพาะ ChatGPT-4o มาใช้ร่วมกับคำสั่ง Prompt ที่เหมาะสม จะช่วยตรวจสอบไวยากรณ์ แนะนำคำศัพท์ และปรับโครงสร้างประโยคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาทักษะการเขียน และช่วยยกระดับคุณภาพบริการของห้องสมุดในเวลาที่สั้นลง
การเปรียบเทียบ Prompt ทั้ง 4 ชุด

(ที่มา: ลิงค์ การประเมินประสิทธิภาพของ Prompt )
(ที่มา: ลิงค์ การประเมินประสิทธิภาพของ Prompt )
ผลการใช้คำสั่ง Prompt กับ Generative AI
การใช้ Generative AI โดยเฉพาะ ChatGPT-4o ร่วมกับคำสั่ง Prompt ในการปรับปรุงบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ทำให้คุณภาพของบทคัดย่อดีขึ้น ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ โดยเริ่มจาก Prompt 1 เพื่อแก้ไขไวยากรณ์และโครงสร้างประโยค แล้วนำไปแก้ไขต่อด้วย Prompt 2, 3 และ 4 เพื่อเพิ่มความต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบวิชาการ และความง่ายในการอ่าน
ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้บทคัดย่อสั้น กระชับ และชัดเจน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนเห็นพ้องว่า คะแนนที่ยอมรับได้สำหรับงานวิชาการนี้คือ 7 คะแนนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนควรตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์
อนึ่ง การใช้เครื่องมือ Generative AI ในการตรวจแก้บทคัดย่อภาษาอังกฤษของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแบบอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งยกระดับคุณภาพบริการของห้องสมุดได้อย่างสร้างสรรค์