Ischool
หลักสูตรภาคฤดูร้อน : IS KKUL
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบ iSchool
หลักสูตรฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบ iSchool เน้นการผสมผสานทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติจะเน้นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพในสาขา iSchool เช่น การจัดการข้อมูล, Digital Content, การออกแบบสื่อสาร, การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ, การนำเสนอและการสื่อสารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร นอกจากนี้ หลักสูตรฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบ iSchool ยังเน้นการสร้างสรรค์ความรู้และทักษะที่เหมาะสมกับการทำงานในสถานการณ์จริง โดยการให้โอกาสในการฝึกปฏิบัติที่สถานประกอบการจริง และนำโจทย์ปัญหาขององค์กรมาพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในองค์กรในรูปของโครงงาน (Project Report) มีการทำงานเป็นทีมร่วมกับองค์กร, การทำโครงการวิจัยหรือการทำงานกับบุคลากรที่มีประสบการณ์ในแวดวงห้องสมุด
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบ iSchool
นักศึกษาจะได้รับการฝึกประสบการณ์ ดังนี้
1. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หมวดหลักสูตรเสริมทักษะ อย่างน้อย 4 หลักสูตร เช่น
- หลักสูตร : ทักษะการสืบค้นข้อมูล (Information Searching Skill)
- หลักสูตร : การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley
- หลักสูตร : การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Zotero
- หลักสูตร : Library Journey: การสืบค้นข้อมูลด้วย OPAC & ONE SEARCH
- หลักสูตร : การป้องกันการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin (How to avoid plagiarism by Turnitin)
- หลักสูตร : การป้องกันการคัดลอกผลงานด้วย โปรแกรม Turnitin สำหรับนักศึกษานานาชาติ
(How to avoid plagiarism by Turnitin for International Student) - หลักสูตร : การใช้ Scopus ในการคัดเลือกวารสารเพื่อตีพิมพ์
- หลักสูตร : เทคนิคการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพและเขียนโครงการอย่างไรให้เป็นเลิศ
- หลักสูตร : การทำ Data Report ด้วย Google Data Studio
- หลักสูตร : การผลิตสื่ออย่างมืออาชีพด้วย Camtasia
- หลักสูตร : เทคนิคการออกแบบผลิตสื่อการประชาสัมพันธ์
- หลักสูตร : การสร้างโลกเสมือนเพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ METAVERSE ด้วย Spatial.io
- หลักสูตร : สถานีออนไลน์ด้วย OBS Studio 2021 & Canva
- หลักสูตร : การใช้ VR Headset ท่องโลกเสมือนทางดิจิตอล: Metaverse
- หลักสูตร : การนำเสนอข้อมูลด้วย Infographic เบื้องต้น
- หลักสูตร : ออกแบบ Infographic อย่างมืออาชีพ
- หลักสูตร : การใช้ PowerPoint เพื่อการสรุปรายงานและการนำเสนอ: แอนนิเมชั่น&การจัดการคลิปวิดิโอ
- หลักสูตร : ดิจิทัลอาร์ตกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ง่ายๆ ด้วย Canva
- หลักสูตร : การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pivot Table in Google Sheet
- หลักสูตร : การใช้งาน AppSheet เครื่องมือสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กร
- หลักสูตร : Power BI เครื่องมือ วิเคราะห์ & นำเสนอข้อมูล
- หลักสูตร : การสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ด้วย WordPress
- หลักสูตร : การใช้งานโปรแกรม Looker Studio (Google Data Studio)
- หลักสูตร : การผลิตสื่อวิดีทัศน์ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro
2. กิจกรรมของสำนักหอสมุด
ครอบคุม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร กิจกรรมการอุทิศตนเพื่อสังคมร่วมกับสำนักหอสมุด กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้ใช้บริการ กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีร่วมกับสำนักหอสมุด หรือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หมวดหลักสูตรเฉพาะสาขา/ตำแหน่ง อย่างน้อย 1 หลักสูตร
ตำแหน่งบรรณารักษ์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติคือ งานจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์และจัดระบบสารสนเทศ งานคลังปัญญาสถาบัน (KKU IR & TDC) งานจัดการสารสนเทศ คลัง ข้อมูล และหอสมุดหมายเหตุ งานจัดการ Special collection งานบริการพื้นฐานห้องสมุด งานบริการสารสนเทศเพื่อการอ้างอิง วิจัยและนวัตกรรม งานจัดการพื้นที่บริการและจัดการข้อมูลบริการ งานห้องสมุดเครือข่ายคณะ งานวางแผนและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน (Project) รวมถึงการชี้แจง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง การสอนการใช้งานระบบหรือนวัตกรรมบริการที่พัฒนาแก่บุคลากร การช่วยทำคู่มือระบบหรือคู่มือการใช้บริการระบบที่พัฒนาเป็นต้น
ตำแหน่งนักสารสนเทศ
ลักษณะงานที่ฝึกปฏิบัติคือ งานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารข้อมูลองค์กร งานรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการบริหารข้อมูลและสารสนเทศ งานช่วยตรวจสอบและนำเข้าข้อมูลสู่คลังข้อมูล ฐานข้อมูล หรือเว็บไซต์ งานช่วยเตรียมข้อมูลตามผลการวิเคราะห์และติดตามความคืบหน้าในการจัดส่งข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย งานศึกษา วิเคราะห์ด้านการป้องกันภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานวางแผนและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน (Project) รวมถึงการชี้แจง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง การสอนการใช้งานระบบที่พัฒนาแก่บุคลากร การทำคู่มือระบบหรือคู่มือการใช้บริการระบบที่พัฒนา และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตำแหน่งนักเอกสารสนเทศ
ลักษณะงานที่ฝึกปฏิบัติคือ การจัดหา จัดทำ และการคัดเลือกหนังสือ เอกสารหรือสื่อการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะหรือลักษณะเฉพาะเข้าห้องสมุดหรือเพื่อบริการสังคม จัดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกบริการแก่ผู้พิการ การวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ การจัดทำคู่มือการศึกษา ค้นคว้า และแนะแนวการอ่าน การจัดบริการหนังสือและสื่อการเรียนรู้ฯ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเข้าร่วมกิจกรรมในภาคีเครือข่ายของสำนักหอสมุดทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย งานวางแผนและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน (Project) รวมถึงการชี้แจง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง การสอนการใช้งานนวัตกรรมบริการที่พัฒนาให้แก่บุคลากร การทำคู่มือระบบหรือคู่มือการใช้บริการระบบที่พัฒนา และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตำแหน่งนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะงานที่ปฏิบัติคือ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ การรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารข้อมูลและสารสนเทศขององค์กร การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาและส่งเสริมระบบสารสนเทศของสำนักหอสมุด การศึกษา วิเคราะห์งานการด้านความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และวิธีป้องกันการกระทำที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์หรือคลังข้อมูลสถาบัน ไอทีซัพพอร์ต งานวางแผนและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน (Project) รวมถึงการชี้แจ้ง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง การสอนการใช้งานระบบที่พัฒนาแก่บุคลากร การทำคู่มือระบบหรือคู่มือการใช้บริการระบบที่พัฒนา และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติคือ งานประชาสัมพันธ์ การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เทคนิคการเขียนข่าว การสื่อสารองค์กรทั้งภายในและภายนอก งานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) การจัดการเสียงของลูกค้า การจัดการข้อร้องเรียน Branding & Marketing การจัดทำของที่ระลึก การสำรวจอัตลักษณ์ และการทำ Content Marketing งานวางแผนและประสานงานกับพนักงานที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงงาน (Project) รวมถึงการชี้แจ้ง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง การสอนการใช้งานนวัตกรรมบริการที่พัฒนาให้แก่บุคลากร การทำคู่มือระบบหรือคู่มือการใช้บริการระบบที่พัฒนา และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ : ยกเว้นการฝึกงานเฉพาะด้าน อาทิ ด้านจดหมายเหตุ
4. การพัฒนาโครงงาน iSchool (ลักษณะโครงงาน)
4.1 โครงงานพัฒนาระบบสารสนเทศสำนักหอสมุดหรือนวัตกรรมบริการต่างๆ
4.2 โครงงานพัฒนาตามแผนงานกิจกรรมในโครงการยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด
4.3 โครงงานที่ช่วยแก้ปัญหาการทำงานให้กับสำนักหอสมุดหรือห้องสมุดคณะต่างๆ
4.4 โครงงานการออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
4.5 อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักหอสมุด
หมายเหตุ : เน้นการฝึกงานแบบ Project base
5. การนิเทศสหกิจศึกษา
สถานศึกษาเข้านิเทศงานนักศึกษาได้จำนวน 1-2 ครั้ง และสามารถเลือกได้ทั้งแบบออนไซต์ หรือ แบบออนไลน์
6.การนำเสนอโครงงาน (Project)
6.1 รูปแบบการเขียน TOR และรายงานการฝึกงานกำหนดตามเงื่อนไขของหน่วยงานการศึกษาต้นสังกัด
6.2 การนำเสนอผลงานภายใน 1 สัปดาห์ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการฝึกงาน
6.3 ก่อนนำเสนอจัดส่งรายงานให้ผู้ทรงคุณวุฒิล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน
6.4 นำเสนอผลงานแบบ Pitching ต่อ คณาจารย์จากสาขาวิชาสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ พนักงานที่ปรึกษาโครงงาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสถาบันอื่น และคณะกรรมการบริหารจัดและดำเนินการโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.5 นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขผลงานและรายงานตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมนำส่งพนักงานที่ปรึกษา และนำส่งประธานคณะกรรมการบริหารจัดการและดำเนินการโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
7.การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากสำนักหอสมุด
7.1 พนักงานที่ปรึกษาประเมินโครงงาน/รายงานการปฏิบัติงาน และประเมินผลงานการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การประเมินของแต่ละสถาบัน
7.2 ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการและดำเนินการโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพตรวจสอบและประเมินเนื้อหารายงานก่อนลงนามอนุญาตให้เผยแพร่
8.ประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากนักศึกษาและอาจารย์นิเทศงาน
8.1 นักศึกษาประเมินผลการเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับสำนักหอสมุด
8.1 อาจารย์นิเทศงานประเมินผลการส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับสำนักหอสมุด
9.สรุปและส่งรายงานผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
หน่วยงานสรุปผลการปฏิบัติงานและจัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษากลับมหาวิทยาลัย พร้อมแนบเอกสารรายงานผลการฝึกงาน และหนังสือรับรองต่างๆ ดังนี้
9.1 เอกสารประเมินโครงงาน/รายงานการปฏิบัติงาน และประเมินผลงานการปฏิบัติงานนักศึกษา
9.2 หนังสือรับรองการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
9.3 หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ผลงานหรือการปฏิบัติงาน (แจ้งความจำนงค์)
9.4 หนังสือยินยอมให้เผยแพร่โครงงานต่อสาธารณะ
10. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
สรุปและรายงานผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพรายไตรมาสต่อผู้บังคับบัญชาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น